- Study, analyse and gather information for drafting recommendations, measures and guidelines to prevent and suppress corruption and misconduct in a public sector to the heads of the organisations.
- Prepare the action plan to prevent and suppress corruption and misconduct in the public sectors.
- Advise, coordinate, expedite and monitor the public sectors, state enterprises and public organisations under supervision of each Ministry according to the action plan.
- Receive complaints against officials in the public sectors, state enterprises and public organisations under supervision of each Ministry involving corruption activities, wrongfully performing or failing to perform their duties. These complaints will be forwarded to agencies in charge as well as other relevant authorities and will be followed-up by the Prevention and Suppression of Corruption and Misconduct Unit until the final outcome is reached.
- Operate and coordinate with the Anti-Corruption Administration Centre, PACC, NACC, or other relevant organisations as assigned by the Anti-Corruption Administration Centre and direct/monitor the implementation of other related National Anti-Corruption Committee’s resolutions and orders.
- Compare and inspect the administrative and disciplinary actions of accountable agencies and submit the recommendations to the Permanent Secretary or the Minister of each Ministry depending on circumstances and subsequently notify the Ministry’s Anti-Corruption Centre.
- Publicize news on prevention and suppression of corruption and misconduct in the public sector.
- Encourage all sectors to participate in the prevention and suppression of corruption in government activities.
- Monitor the performance of the public sector, state enterprises and public organisations, and report the overall results on prevention and suppression of corruption and misconduct to PACC, NACC, OCSC and other relevant organisations.
- Protect ethics as prescribed in the Civil Servant’s Code of Ethics and other Code of Ethics.
- Serve as the secretary to the Ethics Committee in the public sector.
- Coordinate on the annual Action Plan and work plan/project, integrate work plan/project on ethics protection and promotion of virtue, ethics, and civil servants’ morality as well as strengthening the discipline in the public sectors, state enterprises and public organisations.
- Gather information from the public sectors, state enterprises and public organisations under the supervision of each Ministry when implementing the Code of Ethics. Recommend the guidelines to improve the Code of Ethics to the Office of the Civil Service Commission (OCSC).
บทบาท ภารกิจ
อำนาจหน้าที่ กลุ่มงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
๑. ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลสภาพปัญหา เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการ แนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ
๒. จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการ
๓. ให้คำปรึกษาแนะนำ ประสานงาน เร่งรัด กำกับและติดตาม ให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง ดำเนินการขับเคลื่อนภารกิจตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
๔. รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจองค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประสานติดตามอย่างต่อเนื่องจนได้ข้อยุติ
๕. เป็นกลไกการปฏิบัติหรือประสานการปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) สำนักงาน ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ช. หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ศอตช. มอบหมาย และกำกับติดตามการดำเนินการตามมติ-ข้อสั่งการ ของ คตช. ที่เกี่ยวข้อง
๖. ทำการตรวจสอบเปรียบเทียบผลการดำเนินการปกครอง วินัยของหน่วยงานในสังกัด เสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรีแล้วแต่ละกรณี แล้วแจ้งให้ศอตช. ทราบ
๗. เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในส่วนราชการ
๘. ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในส่วนราชการ
๙. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาพรวมของส่วนราชการส่งสำนักงาน ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อำนาจหน้าที่ กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม
๑. คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และประมวลจริยธรรมอื่นๆ
๒. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการ
๓. ประสานการดำเนินงานเกี่ยวกับจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี แผนงาน/โครงการ ตลอดจนบูรณาการแผนงาน/โครงการเกี่ยวกับการคุ้มครองจริยธรรม การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จรรยาข้าราชการ และเสริมสร้างวินัยของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง
๔. รวบรวมปัญหาการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงประมวลจริยธรรมต่อสำนักงาน ก.พ.
๕. ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จรรยาข้าราชการ การเสริมสร้างวินัยและการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนเสนอหัวหน้าส่วนราชการ และส่งผลการดำเนินการให้กลุ่มงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาพรวมของส่วนราชการ
Role, Mission, Power and Duties
of the Prevention and Suppression of Corruption and Misconduct Unit
Role, Mission, Power and Duties of Ethics Protection Unit
5. Monitor/evaluate the organisations’ operation to promote virtue, ethics, and civil servants’ morality, strengthen officers’ self-discipline and follow the Code of Ethics of public sectors, state enterprises and public organisations present the outcome to the head of each organisation. The Ethics Protection Unit will submit the organisations’ operations report to the Prevention and Suppression of Corruption and Misconduct Unit and prepares an overall performance report of prevention and suppression of corruption and misconduct in the public sectors.